ระบบประเมินพนักงานมีปัญหา

ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ยากจะยอมรับกับระบบประเมินพนักงานก็คือ การที่ส่วนใหญ่แล้วการประเมินมักจะลงเอยที่ว่ามันซับซ้อนเกินไปสำหรับพนักงาน บริษัทและฝ่ายบุคคลนั้นต่างรู้ดีว่าการประเมินพนักงานเป็นสิ่งที่จำเป็น หลายๆบริษัทถึงกับพยายามคิดค้นระบบประเมินพนักงานเพื่อให้ได้ผลดีที่สุดออกมา การประเมินต่างๆถูกใช้อยู่ตลอดในช่วงชีวิตพนักงานตั้งแต่ต้นไม่ว่าจะเป็นประเมินผ่านโปร ประเมินผลงานประจำปี ยิ่งใช้มากระบบประเมินเราน่าจะดี แต่ทำไมท้ายที่สุดแล้วระบบกลับไม่ได้อย่างที่เราคิดกันแน่นะ

ไม่มีโครงสร้างกระบวนการที่ดีพอ

เคยสังเกตไหมว่าหลายๆครั้งระบบประเมินพนักงานต่างๆก็เกิดจากการที่ทางฝ่ายบุคคลหรือฝ่ายบริหารต้องการข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ และโดยมากมักจะไม่มีการวางแผนการทำระบบประเมินพนักงาน เพียงแค่คิดว่าหากเรามีคำถามและให้พนักงานตอบก็เพียงพอพอแล้ว การทำเช่นนั้นสุดท้ายสิ่งที่เราได้กลับมาก็คือข้อมูลชุดหนึ่งที่ไม่ใช่แค่เอามาวิเคราะห์อะไรไม่ได้ แต่ยังยากต่อการนำมาแสดงผลอีกต่างหาก อันที่จริงแล้วการทำระบบประเมินพนักงานสักอันนึงนั้นไม่ใช่ process ที่จะจบได้ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ต้องเกิดจากการวางแผนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การออกแบบ การจัดเก็บข้อมูล การแปลผลข้อมูล และการนำไปใช้

กลายเป็นอุปสรรคในการจัดการปัญหา

เพราะมีระบบประเมินพนักงานทำให้เราเกิดความชะล่าใจ ในระบบประเมินพนักงานแม้เราจะมีให้ใส่ความคิดเห็นต่างๆแต่โดยมากแล้วเรามักจะไม่ได้ข้อมูลที่ตรงตามความเป็นจริง และแม้ว่าเราจะแก้ปัญหาด้วยการให้ไม่ต้องลงชื่อสำหรับข้อคิดเห็นก็ทำให้เกิดอีกปัญหานึงตามมานั่นคือ กว่าที่เราจะรู้ว่ามีปัญหานั้น ปัญหาก็สายเกินกว่าที่จะแก้ไขไปเสียแล้ว ส่งผลให้การสะท้อนต่างๆล่าช้ากว่าความเป็นจริงอยู่เสมอ นอกจากนี้ในบริษัทที่เชื่อมันในระบบประเมินพนักงานของตนเองมากเกินไปก็ยังทำให้ขาดการสื่อสารกันแบบตัวต่อตัวอีกด้วย

ไม่ได้ช่วยสร้าง motivation อย่างแท้จริง

ในการวิจัยหลายๆสำนักพบว่าประสิทธิภาพของพนักงานที่ดีนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการจัดการในลักษณะที่พนักงานรู้สึก commit พนักงานรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและได้รับแรงผลักดันจากหัวหน้าของพวกเขา เชื่อไหมครับว่าสำหรับระบบประเมินพนักงานจำนวนมากกลับไม่ได้ช่วยส่งเสริมในจุดนี้ แต่กลับทำให้พนักงานรู้สึกว่าตนเองถูกควบคุมและ micro manage จากทางหัวหน้าผ่านทางมาตรวัดที่ตนเองรู้สึกกระอักกระอ่วนที่จะตอบ สุดท้ายแล้วก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ควรจะทำได้ดีกว่านี้

ไม่ตามเทรนด์วัดผลปัจจุบัน

แม้ว่าการที่องค์กรเรามีความแตกต่างทำให้ระบบประเมินพนักงานเราต้องมีความต่างจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่การที่จะต้องคอยติดตามเทรนด์อยู่ตลอดก็เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะโลกเราเปลี่ยนแปงไปอย่างรวดเร็วมากๆ และองค์ความรู้ใหม่ๆก็มีมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ หากองค์กรเราเลือกที่จะหยุดนิ่งเมื่อเราต้องขยับตัวเพื่อทำระบบใหม่ก็จะทำได้ยากลำบากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือในช่วงปีที่ผ่านมาที่ Covid ระบาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่การใช้ชีวิตที่ต้องเป็น new normal การทำงานก็เช่นเดียวกัน ในหลายๆหน่วยงานต้องมีการทำงานจากที่บ้านมากขึ้น แน่นอนว่ารูปแบบการประเมินพนักงานย่อมต้องเปลี่ยนไปด้วย หากคุณยังใช้ระบบแบบเดิมการประเมินก็จะมีปัญหาในที่สุด

สุดท้ายคือการเชื่อมั่นระบบประเมินแบบเก่า

องค์กรคุณอาจจะมีความคิดว่าเราใช้ซอฟต์แวร์ในการประเมินอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยับตัวในการทำอะไรเพิ่มเติม แต่คุณอาจจะลืมคิดไปว่าซอฟต์แวร์ที่มีอยู่อาจจะตอบโจทย์ในอดีตแต่ปัจจุบันและอนาคตกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยลงไป เช่นระบบประเมินที่ใช้อยู่อาจจะไม่รองรับการทำงานบนคลาวด์ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลแบบประเมินจากทั้งพนักงานและจากบริษัทเองเกิดข้อจำกัดขึ้น

จาก 5 ข้อที่กล่าวมาก้คงพอทำให้ทราบแล้วว่าระบบประเมินพนักงานเรากำลังมีปัญหาอยู่หรือเปล่า หากคุณรู้สึกว่ากำลังเจอกับปัญหาข้อใดข้อหนึ่งอยู่แล้วล่ะก็อาจจะเป็นสัญญาณว่าระบบประเมินพนักงานของคุณอาจจะต้องการการเปลี่ยนแปลงอยู่ก็เป็นได้

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:       www.myempeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:     www.youtube.com/empeo


Tags

assessment, performance management


You may also like

>