เงินเกษียณอายุและเงินชดเชยเกษียณอายุต้องรู้

เงินเกษียณอายุนั้นเป็นอีกสิทธิหนึ่งที่มักจะก่อให้เกิดความสับสนกับ HR มือใหม่เป็นอย่างมาก เพราะว่าโดยส่วนใหญ่แล้วเคสที่จะเกษียณอายุนั้นก็จะไม่ได้พบเจอกันเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และยิ่งในยุคใหม่ ๆ ที่คนนิยมเปลี่ยนงานกันมากขึ้น การอยู่จนเกษียณก็ลดลง ทำให้บางครั้งทำงาน HR มาหลายปีอาจจะเคยเจอเคสแบบนี้ผ่านหูผ่านตาแค่ครั้งเดียว แถมในแต่ละบริษัทก็มีการกำหนดกฎเกณฑ์ไม่เหมือนกันสร้างความน่าปวดหัวเป็นอย่างมาก

ทำความเข้าใจเงินเกษียณอายุ

ก่อนที่ HR จะทำเรื่องเงินชดเชยเกษียณอายุได้นั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า “การเกษียณอายุนั้นให้คิดเสมือนเป็นการเลิกจ้าง” เพราะฉะนั้นแล้วการเกษียณอายุนั้นจะจ่ายในอัตราเดียวกันกับการเลิกจ้างเลย เกณฑ์ในการเกษียณอายุเองนั้น ก็จะอยู่ที่ข้อตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง เช่นหากอายุเกษียณอยู่ที่ 55 ปี เมื่อถึงกำหนดลูกจ้างก็จะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยเกษียณอายุดังนี้

  • อายุงาน 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้ชดเชย 30 วัน
  • อายุงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้ชดเชย 90 วัน
  • อายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้ชดเชย 180 วัน
  • อายุงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้ชดเชย 240 วัน
  • อายุงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ชดเชย 300 วัน
  • ทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป ได้ชดเชย 400 วัน

เงินเกษียณอายุกรณีบริษัทไม่มีการกำหนดอายุเกษียณ?

ทีนี้พออย่างที่บอกว่าอายุในการเกษียณขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ก็เลยเกิดปัญหาว่าหลาย ๆ ที่เองก็เลือกที่จะไม่กำหนดอายุหรือหลักเกณฑ์ในการเกษียณอายุกันไว้ และทำให้ลูกจ้างต้องทำงานต่อไปเรื่อย ๆ และในที่สุดเมื่อไม่ไหวก็ต้องเลือกลาออกเอง พอลาออกเองสิทธิที่ควรจะได้รับจากการเลิกจ้างก็ไม่เข้าข่าย พอเป็นแบบนี้ในพรบ.คุ้มครองแรงงานตอนปี 60 ในมาตราใหม่ 118/1 ก็เลยได้มีการเพิ่มไปว่ากรณีที่ไม่ได้มีการตกลงกันถึงอายุเกษียณหรือมีการกำหนดไว้เกิน 60 ปีขึ้น เมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีสามารถแสดงเจตนาเพื่อขอเกษียณอายุและรับเงินชดเชยได้ตามสิทธิ

นอกจากเงินเกษียณอายุแล้ว HR ต้องเตรียมพร้อมอะไรอีก?

แม้ว่าเงินเกษียณอายุนั้นจะเป็นปัจจัยหลัก ๆ ที่ต้องดูแล แต่เราจะเห็นได้เลยว่าอันที่จริงแล้วเงินชดเชยนั้นไม่มีอะไรยาก แต่พอพูดถึงการเกษียณอายุยังมีอีกหลายสิ่งที่ HR จะต้องดูแลต่อ เช่น

1.Successor plan

HR เองนั้นควรจะต้องรู้ล่วงหน้าก่อนว่าในปีหน้านั้นมีใครบ้างที่กำลังต้องเกษียณอายุ และงานที่เค้ารับผิดชอบดูแลอยู่นั้นมีความสำคัญในระดับใด หากเป็นระดับ officer การหาคนมาทดแทนก็อาจจะไม่ใช่เรื่องลำบากมาก สามารถวางแผนอัตรากำลังได้เลย แต่หากเป็นระดับ management อันนี้ก็จะเพิ่มความยากของงาน HR ขึ้นไปอีกขั้น กรณีเช่นนี้ควรจะต้องมีการคุยกับทีมบริหาร และดูว่าจะมีการโปรโมตจากข้างในหรือหาคนข้างนอกเข้ามาดูแลในส่วน ๆ นี้ซึ่งโดยมากขั้นตอนนี้ก็จะกินเวลามากโขเลยทีเดียว

2.เงินช่วยเหลืออื่น ๆ

นอกจากในส่วนของเงินชดเชยเกษียณอายุแล้ว หากพนักงานมีการเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินส่วนนี้ก็จะต้องจัดการให้พนักงานด้วยเช่นกัน นอกจากนี้อาจรวมไปถึงสิทธิพึงได้รับสวัสดิการอื่น ๆ ที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งงาน เช่น โบนัส เงินบำหน็จ เงินค่าหุ้นเป็นต้น

3.แนะนำเรื่องของสิทธิประโยชน์อื่น ๆ

หลายต่อหลายครั้งพนักงานเองอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองยังมีสิทธิพึงมีที่ควรได้รับจากที่อื่น ๆ การที่คน ๆ นึงกำลังจะเกษียณออกจากองค์กร หมายความว่าเค้ามี loyalty กับองค์กรเราสูงมาก การแสดงน้ำใจและแนะนำในเรื่องอื่น ๆ ที่พนักงานควรได้รับ จะช่วยสร้าง good environment ให้กับที่ทำงานได้ เช่นสิทธิที่ต้องได้รับจากประกันสังคม หรือเบี้ยคนชราต่าง ๆ เป็นต้น

4.จัดการเอกสารให้เรียบร้อย

และเมื่อถึงขั้นตอนสุดท้าย เมื่อพนักงานได้รับเงินชดเชยต่าง ๆ ทาง HR เองก็มีหน้าที่ที่จะต้องทำการออกเอกสารเกี่ยวกับเงินได้และภาษีต่าง ๆ หลายครั้งเองเงินชดเชยเกษียณอายุมักจะสร้างความปวดหัวให้กับ HR ในการคำนวณหัก ณ ที่จ่ายหากเราต้องทำงานแบบ manual แต่อย่างไรก็ตาม HR ก็ยังจำเป็นที่จะต้องจัดการส่วนนี้ และเตรียมเอกสารต่าง ๆ ไว้ให้พนักงานเพื่อนำไปยื่นแบบต่อไป

จะเห็นได้ว่าเงินเกษียณอายุเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ที่จริงแล้วเป็นแค่เพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง เมื่อพนักงานที่อยู่กับองค์กรมาและต้องเกษียณอายุออกไปก็มีงานอะไรที่ HR จะต้องดูแลอีกเยอะมาก ๆ หวังว่าบทความดีดีจาก empeo บทความนี้ น่าจะช่วยให้ HR ทุกท่านเข้าใจและจัดการได้ง่ายขึ้นกัน

ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:    www.empeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

เงินเกษียณอายุ


You may also like

>