HR คืออะไร

หลายคนอาจสงสัยว่า "HR คืออะไร?" เพราะเมื่อพูดถึง HR แล้วล่ะก็หลายคนก็มักนึกไปถึงแผนก หลายคนก็นึกไปถึงตัวเนื้องานเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันก็คงไม่พ้นคำที่บอกกันว่า HR คือ หัวใจขององค์กร วันนี้ empeo จะพาไปทำความรู้จักกับความหมายของคำว่า HR กันให้ทุกท่านเข้าใจมากขึ้น รวมถึงหน้าที่และความสำคัญ ไปดูกันเลยดีกว่า

HR คืออะไร?

HR หรือ Human Resources เรามักรู้จักกันดีในชื่อของฝ่ายบุคคลนั่นเอง แต่หากในความหมายทางการบริหารจัดการ คือ ฝ่ายหรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลในองค์กร ทั้งนี้รวมถึงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ที่ทำงานในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการสรรหา การประเมิน การพัฒนา การฝึกอบรม การจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ การดำเนินการในเรื่องของการลาออก การย้ายออก และการเลิกจ้าง

หน้าที่ของ HR

HR ทำหน้าที่ในการสร้าง ซ่อมแซม และปรับปรุงทักษะ และทรัพยากรของบุคคลที่อยู่ในองค์กร ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน และพัฒนาให้สามารถให้ผลงานได้ดีขึ้น สรุปคือ HR มีบทบาทในการช่วยให้องค์กร และผู้ที่ทำงานในองค์กรนั้น สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แม้ว่าหน้าที่ของ HR นั้นจะดูเยอะมาก แต่อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัด ดังนี้

HR manager performs various HR functions
  1. รรหาทรัพยากรและจัดการแรงงาน (Recruiting and Staffing) ทำหน้าที่ค้นหาบุคคลที่มีศักยภาพ เพื่อจ้างงานให้กับองค์กร ซึ่งรวมถึงการประกาศงานว่าง, การคัดเลือกรายชื่อผู้สมัคร, การสัมภาษณ์, และการตัดสินใจในการจ้างงาน
  2. อบรมและพัฒนาบุลคากร (Training) ทำหน้าที่อบรมและพัฒนาส่งเสริมเพิ่มความสามารถ, ทักษะ, และความรู้ของพนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และสนับสนุนการเติบโตขององค์กร เตรียมความพร้อมของพนักงานสำหรับหน้าที่และภารกิจในอนาคต
  3. การจัดการเงินเดือนและสวัสดิการ (Payroll and Benefits) จัดการเรื่องเงินเดือนของพนักงาน รวมถึงการคำนวณเงินเดือน, การหักภาษี, การหักประกันสังคม, และการจ่ายเงินเดือนออกไปยังพนักงาน และจัดการสวัสดิการพนักงาน ตั้งแต่ประกันสุขภาพ, แผนการสะสมเบี้ยบำนาญ, วันหยุดพิเศษ, สวัสดิการการศึกษา, และสวัสดิการอื่น ๆ การจัดการสวัสดิการต้องเหมาะสมและเป็นธรรมเนียม
  4. การบริหารจัดการประสิทธิภาพประเมินผลงาน (Performant Management) การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สร้างระบบการประเมินประสิทธิภาพ ที่ช่วยให้เห็นความคืบหน้าและประสิทธิภาพของพนักงาน การติดตามประสิทธิภาพนี้อาจจะรวมถึงการทบทวนประจำปี การพบปะระหว่างเจ้านายและผู้ใต้บังคับบัญชา และการให้ข้อเสนอแนะ
  5. การจัดการเรื่องทรัพยากรบุคคล (Human Resources planning) โดยเป็นการใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนในองค์กร เอามาช่วยในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในเรื่องการวางแผนด้านกำลังคนเพื่อไม่ให้มีคนเยอะเกินงาน หรือเกิดปัญหาคนไม่เพียงพอกับหน่วยงาน
  6. วางแผน career พนักงาน (Career planning) ทำหน้าที่ช่วยในการไกด์และให้การสนับสนุนพนักงานในการเติบโตตามสายงาน ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตในเรื่องของการเลื่อนตำแหน่ง หรือการโยกย้ายหน่วยงาน การวางแผนที่ดีจะช่วยในเรื่องของ retention

ความสำคัญของ HR ในองค์กร

บทบาทที่สำคัญมากในการเชื่อมโยงระหว่างบุคคลและส่วนต่าง ๆ ขององค์กร สร้างความสามารถในการทำงานของพนักงาน และส่งเสริมการเติบโตขององค์กร ดังนี้

  • การสื่อสารภายในองค์กร ระหว่างผู้บริการและพนักงานในทุก ๆ ระดับ ให้ทุกคนเข้าใจและรับสารในทิศทางเดียวกัน เข้าใจเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร
  • การสร้างวัฒนธรรมองค์กรการสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรที่เข้ากันได้และส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความมั่นคงในการทำงาน สร้างสภาพแวดล้อมการทำงาน บรรยากาศที่ทำให้พนักงานรู้สึกพึงพอใจในงานและมีความภักดีที่จะทำงานให้กับองค์กรในระยะยาว
  • ที่สำคัญเพื่อสร้างและส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรให้เป็นไปในทางที่ดี ทั้งในมุมมองของพนักงานและคนภายนอก ทำให้พนักงานภายในมีความภักดีและภายนอกมีความไว้วางใจในองค์กรและอยากที่เข้ามาใช้บริการหรือดึงดูดคนที่มีศักยภาพอยากที่จะเข้ามาร่วมงานด้วย

ตำแหน่งงานด้าน HR ที่มักพบเห็นบ่อย ๆ 

1.HR staff เรามักจะเห็นตำแหน่งฝ่ายบุคคลนี้ทำหน้าที่รับผิดชอบหน้าที่ในงาน HR ทั่ว ๆ ไป จะไม่ค่อยได้ลงลึกไปในหน้าที่เฉพาะสักเท่าไร

  • ช่วยในเรื่องของการรับสมัครคน ตั้งแต่การสกรีนผู้สมัคร เช็กประวัติ ทำการนัดหมายผู้สมัคร ไปจนถึงการจัดการ offer และปฐมนิเทศพนักงานใหม่
  • ดูแลเรื่องของข้อมูลพนักงานต่าง ๆ ทั้งประวัติ เวลาเข้าออกงาน การขาดลาสายต่าง ๆ
  • จัดการ HR report
  • จัดทำเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน HR ทั้งหมดเช่นหนังสือตอบรับเข้าทำงาน ใบเตือนพนักงาน สลิปเงินเดือน

2.Talent acquisition หรือตำแหน่งงานที่เน้นในเรื่องของการรีครูทคน ตำแหน่งนี้นั้นจะมีความเข้มข้นมากขึ้น เพราะไม่ได้เพียงแค่ทำหน้าที่ง่าย ๆ อย่างการเปิดรับสมัคร แต่มักจะต้องทำงานร่วมกันกับทีมงานแผนกต่าง ๆ ที่ต้องการรับคน ตั้งแต่การเข้าใจเนื้องาน คุณลักษณะที่มองหาอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ มีการวัดผลลัพธ์ของกระบวนการสรรหาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังโฟกัสในเรื่องของการสร้าง employer branding และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้สมัครงานอีกด้วย

3.HR payroll เป็นตำแหน่งที่มักพบเห็นบ่อยมาก ๆ ดูเผิน ๆ เหมือนเป็นตำแหน่งที่ไม่มีอะไรมากเน้นในเรื่องของการทำเงินเดือน และดูแลสวัสดิการ แต่อันที่จริงแล้วเป็นตำแหน่งที่ต้องการความละเอียดรอบคอบสูงมาก ๆ ต้องคำนวณข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นวันทำงาน การขาดลามาสาย โอที เบี้ยขยันต่าง ๆ

ถ้าองค์กรขาด HR ที่ดีจะเกิดอะไรขึ้น?

องค์กรที่ขาด HR ที่ดีอาจต้องเผชิญกับปัญหาในการรักษาความสมดุลของพนักงาน การทำงานไม่เป็นระบบ และขาดศักยภาพในการปรับตัวตามสภาวะตลาด การมี HR ที่ดีจึงถือเป็นความสำคัญที่ไม่ควรถูกละเลย

เราสรุปได้ว่า HR มีบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนและสนับสนุนองค์กร เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นการมีระบบการสนับสนุน HR อย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์การจัดการทรัพยากรบุคคล (HRM) สามารถช่วยให้ฝ่าย HR ทำงานได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น และเป็นการทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จขึ้น

ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:    www.empeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

hr, HR คืออะไร


You may also like

>