employee wellbeing image with people cooperating

Employee wellbeing เป็นสิ่งที่หลาย ๆ องค์กรเองไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็กำลังเผชิญปัญหานี้กันอยู่ไม่ใช่น้อย หลัก ๆ ก็มาจากความเปลี่ยนแปลงที่การทำงานในยุคก่อน ๆ เรื่องของ wellbeing อาจจะไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญเท่าที่ควรนัก แต่ในโลกยุคนี้ wellbeing นั้นเป็นเรื่องแรก ๆ ที่คนทำงานให้ความใส่ใจกัน และไม่ใช่แค่ในเรื่องของสุขภาพกายเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงส่วนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

มาทำความเข้าใจกับ employee wellbeing กันก่อน

เมื่อเราพูดถึงเรื่องของ wellbeing พนักงานนั้น เรามักจะมองถึงเรื่องของพนักงานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ ความคาดหวังของพนักงาน ความเครียด สภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อนร่วมงานที่ล้วนส่งผลถึงสุขภาพกายและใจของพนักงาน ตัวบริษัทเองก็ต้องทำความเข้าใจว่า employee wellbeing นั้นเป็นอะไรที่มากกว่าเรื่องของสุขภาพกายที่เห็นได้ชัดจากภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยเช่นความสุขต่าง ๆ ในการทำงาน ดังนั้นแล้วหากจะถามว่า wellbeing นั้นคืออะไร คำตอบก็คงเป็นการมีความสุขในทุก ๆ ส่วนนั่นเอง

employee wellbeing 7 ด้าน

1.Physical wellbeing หรือด้านสุขภาพกาย ในด้านนี้นั้นก็จะครอบคลุมทั้งหมดที่เกี่ยวกับสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อน ออกกำลังกาย ไลฟ์สไตล์ อาหารการกินทั้งหลายแหล่

2.Career wellbeing หรือด้านการงาน เป็นเรื่องของความพึ่งพอใจในตัวงานที่ทำ รวมไปถึงได้ใช้เวลาในการทำงานอย่างมีคุณค่า ในแง่มุมบริษัทก็สามารถดูได้หลายอย่างเช่น ผลตอบแทน โปรแกรมพัฒนาพนักงาน การโค้ช การให้โอกาสต่าง ๆ เป็ยต้น

3.Financial wellbeing หรือด้านการเงิน หากพนักงานมีความเครียดด้านการเงินแล้วจะทำให้ด้านอื่น ๆ ก็แย่ลงตามไปด้วย ความมั่นคงทางรายได้ที่มีเงินใช้เพียงพอต่อภาระรายต่ายก็จะทำให้พนักงานเกิดความสุขด้านการเงิน

4.Social wellbeing หรือด้านโซเชียล การที่ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนรอบข้างทั้งในแง่ส่วนตัวและด้านการงานล้วนทำให้เกิดความสุขในระยะยาว และยังส่งผลดีในเวลาที่พนักงานมีความเครียด ก็มีคนที่ไว้ใจคอยให้คำปรึกษาได้อีกด้วย

5.Community wellbeing หรือด้านการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน การได้มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน หรือการได้มีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้างในแง่บวกจะช่วยให้พนักงานเกิดความสุขมากยิ่งขึ้น

6.Emotional wellbeing หรือด้านอารมณ์ ว่าสามารถที่จะจัดการกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รักษาอารมณ์ให้มีความสุขภาพจิตที่ดีได้แค่ไหน

7.Purpose driven wellbeing หรือด้านการมีเป้าหมาย ได้รู้สึกว่างานที่ทำอยู่นั้นมีคุณค่า และไปในทิศทางเดียวกับสิ่งที่ตัวเองเชื่อและยึดถือ

จะสร้าง Employee wellbeing program ที่สำเร็จได้อย่างไร?

1.เริ่มจากผู้บริหารต้องให้การสนับสนุน

ผู้บริหารนั้นต้องเชื่อและให้ความสำคัญกับ wellbeing พนักงานก่อน เพราะการทำ wellbeing นั้นไม่ใช่ task ระยะสั้น แต่ต้องอาศัยการอุทิศตนและความร่วมมือจากหลายฝ่าย หากทางฝั่งบริหารนั้นไม่เชื่อในการทำเรื่องนี้ก็เป็นไปได้ยากที่จะสำเร็จ และแม้ HR จะผลักดันแต่ด้วย policy และหลาย ๆ อย่างก็จะไปในทิศทางที่ไม่สอดคล้องกัน เช่น HR อาจจะอยากทำเรื่องสุขภาพกายพนักงาน แต่บริษัทยังเน้นในเรื่องการทำโอทีดึก ๆ ดื่น ๆ ทุกวัน แบบนี้ wellbeing ด้านนี้ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

2.ทำความเข้าใจต่อความต้องการพนักงาน

บริษัทไม่ควรจะคิดเอาเองว่าพนักงานต้องการ wellbeing program แบบนั้นแบบนี้และเริ่มทำเลย แต่ควรเริ่มจากการทำแบบสำรวจถึงสิ่งที่พนักงานโฟกัสและให้ความสำคัญ อะไรที่ตอนนี้ควรจะต้องปรับเปลี่ยนอย่างเร่งด่วน เช่นหากพนักงานรู้สึกว่าความเครียดในที่ทำงานสูงหรือกำลังประสบปัญหาเรื่อง office syndrome ตัวโปรแกรมก็ควรจะไปโฟกัสที่เรื่องพวกนี้ ประเด็นสำคัญคืออย่าคาดเดาไปเอง

3.มีเป้าหมายที่ชัดเจน

เราคงไม่อยากทำโปรแกรมออกมาเพื่อให้มีโปรแกรมนี้ไปงั้น ๆ ดังนั้นแล้วเมื่อเริ่มทำโปรแกรมเกี่ยวกับ wellbeing สิ่งแรกที่เราต้องให้ความสำคัญคือเป้าหมายอะไรที่เราอยากจะได้จากโปรแกรมนี้ เช่น

  • เพิ่มความถึงพอใจพนักงาน
  • เพิ่มความมีส่วนรวมพนักงาน
  • เพิ่มการสื่อสารกันระหว่างทีม
  • ลดอัตราการลาออกพนักงาน

4.สื่อสารให้ทุกคนรับรู้

หลายครั้งเมื่อเริ่มแคมเปญออกไปแล้ว แต่กลับไม่มีผลลัพธ์อะไรเกิดขึ้นมากเท่าที่ควรหลัก ๆ ก็เพราะว่าพนักงานไม่ได้รับการสื่อสารที่ดีเพียงพอ HR และหัวหน้างานควรจะช่วยกันในการสื่อสารให้พนักงานทราบถึงโปรแกรมที่เกิดขึ้น และผลประโยชน์อะไรที่พวกเขาจะได้รับจากการเข้าร่วม ในหลาย ๆ กรณีเองก็อาจจะต้องใช้ความพยายามผลักดันมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นบริษัทที่มีในหลาย ๆ ประเทศ โปรแกรมที่ออกแบบมา ข้อมูลต่าง ๆ ก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับอีกประเทศหนึ่ง เมื่อสื่อสารออกไปก็อาจก่อให้เกิดความสับสนแทน

5.วัดผลและดู impact ที่เกิดขึ้น

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึง wellbeing การวัดผลไม่ได้จะทำได้โดยง่าย เช่นมาตรวัดอย่างความสุขเองก็เป็นอะไรที่ไม่สามารถวัดผลได้ตรง ๆ อย่างไรก็ตามเราก็ยังสามารถออกแบบมาตรวัดที่ชัดเจนมากขึ้นได้ เช่นหลังจากเข้าโปรแกรมนี้แล้วพนักงานมี engagement มากขึ้นหรือไม่ หรือแม้กระทั่งลองสังเกตดูพนักงานถึงพฤติกรรมหรือสิ่งที่เค้าแสดงออกทั้งหมดนี้ล้วนมีส่วนช่วยให้เรารู้ว่าโปรแกรมที่เราทำมาเป็นเช่นใด และปรับปรุงให้เหมาะสมได้ในโปรแกรมถัดไป

ตอนนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นเวลาที่ต้องหันมาให้ความสนใจกับ employee wellbeing กันอย่างจริงจัง ยิ่งโดยเฉพาะยุคปัจจุบันนี้ที่คนทำงานใส่ใจในด้านต่าง ๆ มากขึ้น ในระยะยาวนั้นยิ่งบริษัทเริ่มใส่ใจในสุขภาพกายและใจพนักงานมากขึ้นเท่าไร พนักงานก็จะใส่ใจในสุขภาพของบริษัทด้วยเช่นกัน

ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:    www.empeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

employee wellbeing, wellbeing


You may also like

>